ปราสาทบ้านเบญจ์ ศาสนสถานเก่าแก่ ที่มีอายุยาวนานถึง 9 ร้อยกว่าปี ที่นี่ตั้งติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้ม ซึ่ง อยู่ใน ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี ครับ

ปราสาทบ้านเบญจ์,ปราสาทบ้านเบ็ญ,PrasatBanBen,ที่เที่ยวทุ่งศรีอุดม,ที่เที่ยวอุบล,ปราสาทเก่าอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,UbonTourism,UbonratchathaniTourism

ปราสาทบ้านเบญจ์เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูแบบศิลปะลพบุรี ประกอบด้วยปราสาทที่ก่อด้วยอิฐจำนวน 3 หลัง ตั้งเรียงบนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีกำแพงศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบ โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้าด้านเดียว นอกจากนี้ยังมีฐานอาคารจตุรมุขตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงด้านทิศตะวันออก และมีคูน้ำล้อมรอบกำแพงศิลาแลงด้วย

จากหลักฐานที่พบบนปราสาทบ้านเบญจ์จำนวนหลายชิ้น พบว่ามีลวดลายเป็นรูปเทพนพเคราะห์และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยได้มีการบันทึกไว้ว่าศาสนสถานแบบนี้มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

ดังนั้น จากทั้งหลักฐานและรูปแบบตัวปราสาท สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาทบ้านเบ็นมีอายุราวๆพุทธศตวรรษที่ 16

มีป้ายหลายจุดมากครับ 3 ป้ายเลย ทั้งข้างหน้า ข้างใน และก่อนถึงประตูเข้าปราสาท

ภาพปราสาทบ้านเบญจ์แบบเต็มๆครับ กว้างมาก

ภาพบริเวณด้านข้างของ ปราสาทบ้านเบญจ์

ส่วนตรงนี้คือประตูทางเข้าปราสาทบ้านเบญจ์ครับ

เดินเข้ามาในประตู จะมีเหมือนห้องเล็กๆอยู่ 2 ห้อง ทั้งซ้ายและขวาครับ

และตรงนี้ คือภาพข้างในปราสาทครับ จะมีปราสาทจำนวน 3 หลัง

ด้านล่างนี้จะเป็นภาพบริเวณด้านข้าง และด้านหลังปราสาทครับ 

ภาพปราสาทบ้านเบญจ์ หลังกลาง แบบใกล้ๆครับ สวยงาม และดูขลังมากๆ

ภาพนี้เป็นภาพของปราสาทหลังซ้ายมือครับ 

ส่วนภาพนี้ ก็เป็นหลังขวามือครับ สภาพก็ผุพัง ตามกาลเวลาครับ

บริเวณด้านหลังปราสาท จะมีรูปปั้นจำนวนมาก ที่มีคนเอามาถวายด้วย

บริเวณปราสาท มีต้นไม้ใหญ่หลายต้นครับ บรรยากาศร่มรื่นมาก

และนี่คือข้อมูลเรื่องประวัติของปราสาทบ้านเบญจ์ จาก สํานักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี

ปราสาทบ้านเบญจ์ สร้างในพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะผังสิ่งก่อสร้าง เป็นปราสาทอิฐ 3 หลังบนฐานศิลาแลงเดียวกันภายในกำแพง โดยวางตัวอาคารเรียงต่อกันไปในแนว เหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้วมีอาคารจตุรมุขก่อด้วยศิลาแลง เช่นเดียวกับว่าสิงห์ น้อยบ้านยางคู่ กู่พระโกนา จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาททองหลาง จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะสถาปัตยกรรมปราสาทบ้านเบญจ์ เป็นปราสาทก่ออิฐ ในผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อเก็จที่ก่อมุขสั้นๆเป็นประตูหลอกและเสาประดับผนัง ส่วนประกอบเหนือขึ้นไปฟังทลายไม่ทราบรูปแบบ โดยปราสาทประธานจะมีขนาดที่สุดใหญ่ มีประตูทางเข้าด่านทิศตะวันออก กรอบประตูสลักจากหิน ทราย ผนังอีก 3 ด้านก่อด้วยอิฐเป็นประตูหลอก จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบทับหลังหินทรายสลักรูปเทพนพเคราะห์ รูป พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และแท่นที่ตั้งศิวลึงค์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าปราสาทบ้านเบญจ์สร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย กำหนดอายุลวดลายจากภาพสลักบนทับหลังที่พบได้ในพุทธศตวรรษที่ 15 16 เอกลักษณ์ของปราสาทบ้านเบญจ์คือ การ สะท้อนคติความเชื่อ และรูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนาของคนในพื้นที่ในพุทธศตวรรษที่ 16 ภายหลังจากการสถาปนา ปราสาทพระวิหารในพุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นช่วงระยะเวลาที่ดินแดนอีสานตอนใต้บริเวณลำน้ำมูลเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของ อาณาจักรเขมร

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทบ้านเบ็ญ ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กันยายน 2479 และกําหนดขอบเขตโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน 2524 เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ.2533 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย

พิกัด Googlemap