ปราสาททองหลาง ร่องรอยอารยธรรมขอม

ปราสาททองหลาง อำาเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สถาปัตยกรรมศิลปะเขมรแบบบาปวน อิทธิพลของอาณาจักรขอม ตั้งที่อยู่บริเวณ บ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม

ช่วงที่ผมไป ดูเหมือนจะเป็นหลังช่วงการจัดงานอะไรสักอย่าง ทำให้ได้เจอป้ายตกแต่งแบบนี้ครับ

และนี่เป็นด้านหน้าของปราสาททองหลางครับ ที่นี่ตั้งอยู่ริมถนนเลยนะครับ 

เข้าไปดูใกล้ๆกันดีกว่า และนี่คือประวัติคร่าวๆ ของที่นี่ครับ

ปราสาททองหลาง เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ มีลักษณะเป็นปรางค์ ก่อด้วยอิฐ 3 หลัง ตั้งเรียงบนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปเกือกม้า โดยเว้นเป็น ช่องทางเข้าด้านตะวันออก ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร มีบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) กว้างประมาณ 380 เมตร ยาวประมาณ 420 เมตร ซึ่งยังเห็นขอบคันดินได้ชัดเจน

สันนิษฐานได้ว่า มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เทียบได้กับศิลปะเขมร แบบบาปวน (พ.ศ.1550-1620) ปราสาทแห่งนี้แสดงถึงอิทธิพลอาณาจักรขอมในด้านการเมืองการปกครองและศาสนา พบได้ในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกำหนดเขตที่ดิน โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พิม ประมาณ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา

ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ภาพมุมขวาของปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ภาพมุมซ้ายของปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ภาพด้านหลังของปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ภาพด้านหลังของปราสาททองหลาง

เดี๋ยวเราลองขึ้นไปสำรวจด้านบนกันครับ ว่าเป็นยังไงบ้าง 

ถ้าให้พูดตามภาษาชาวบ้าน ข้างบนปราสาทจะแบ่งเป็น 3 ห้อง ครับ

ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
ห้องด้านซ้ายของปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
บริเวณภายในห้องของปราสาททองหลาง (ห้องซ้าย)
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
บริเวณภายในห้องของปราสาททองหลาง (ห้องกลาง)

ผมสังเกตุได้ว่า ห้องกลาง และห้องขวามือ จะเป็นปล่องโล่งด้านหลังครับ แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นการออกแบบตั้งแต่แรก หรือเกิดจากความเสียหาย ทรุดโทรม ของตัวปราสาท

ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
บริเวณภายในห้องของปราสาททองหลาง (ห้องกลาง)
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
บริเวณภายห้องของปราสาททองหลาง (ห้องขวา)
ปราสาททองหลาง,ปราสาทหนองทองหลาง,PrasatThongLang,ปราสาทโบราณ,ปราสาทอุบล,สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์,ปราสาทขอม,Prasat,Khmercastle,Ubontourism,UbonTravel,ที่เที่ยวเดชอุดม
บริเวณภายในห้องของปราสาททองหลาง (ห้องขวา)

บรรยากาศรอบๆ บริเวณปราสาท บรรยากาศก็ค่อนข้างดูแห้งแล้งครับ เพราะผมมาที่นี่ ในช่วงเดือนมีนาคม หากมาในหน้าฝน อาจจะเจอกับหญ้าเขียวๆ บรรยากาศจะสวยกว่านี้ครับ

ที่นี่คล้ายเกาะกลางน้ำ ที่มีบ่อน้ำล้อมรอบ  แต่มีการเว้นไว้ สำหรับทางเข้าครับ

และนี่คือประวัติเต็มๆ ของปราสาททองหลาง

จาก : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี

ประวัติปราสาททองหลาง สร้างในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์สร้างขึ้นใน วัฒนธรรมเขมร ลักษณะผังสิ่งก่อสร้างเป็นปราสาท 3 หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกัน วางตัวอาคารเรียงต่อกันไปในแนว เหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาคารทั้งหมดตั้งอยู่ภายในกำแพงที่มีคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบกำแพงด้านนอก ห่างออกไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 20 เมตร มีสระน้ำ(บาราย)ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับผังกู่กาสิงห์ น้อยบ้านยาง กู กู่พระโกนา จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทบ้านเพ็ญ จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะสถาปัตยกรรมปราสาททองหลางเป็น ปราสาทก่ออิฐ ในผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อเก็จที่ก่อมุขสั้นๆเป็นประตูหลอกและเสาประดับผนัง ปราสาทประธานจะมี ขนาดที่สุดใหญ่มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก กรอบประตูสลักจากหินทราย ผนังอีก 3 ด้านก่อด้วยอิฐเป็นประตู หลอก หน้าบันก่อเป็นอิฐสลักลายกลีบบัวห้ากลีบ เหนือขึ้นไปพังทลายไม่เหลือหลักฐาน เอกลักษณ์ของปราสาท ทองหลางคือ การสะท้อนคติความเชื่อและรูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนในพุทธศตวรรษที่ 16 ภายหลัง จากการสถาปนาปราสาทพระวิหารในพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ดินแดนอีสานตอนใต้บริเวณลำน้ำมูล ได้ผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปราสาทหนองทองหลาง ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 กันยายน 2479 และกำหนดขอบเขคโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ.2548 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิด ตามกฎหมาย

พิกัด GoogleMap

รูปภาพทั้งหมดเป็นลิขสิทธ์ของเว็บ pepotjourney.com อณุญาติให้ใช้ประกอบภาพข่าวเท่านั้น โดยต้องแจ้งแหล่งที่มาทุกครั้ง